กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
62
ขอไฟล์ เรียงช่อง super net ครับ
63
ไปยานใหญ่ ฯลฯ / Re: พระสมเด็จ
« กระทู้ล่าสุด โดย pjxteam เมื่อ กุมภาพันธ์ 21, 2015, 05:52:15 AM »
เทคนิคการดูพระสมเด็จอย่างง่ายๆ..... อ่านต่อได้ที่

https://www.gotoknow.org/posts/433887
64
ไปยานใหญ่ ฯลฯ / Re: พระสมเด็จ
« กระทู้ล่าสุด โดย pjxteam เมื่อ กุมภาพันธ์ 21, 2015, 03:39:04 AM »
ชี้จุดตำหนิพระสมเด็จวัดระฆังฯข่าวเด่นเซียนดังพระเครื่องออนไลน์

http://spiritthai1899.blogspot.com/
65
ไปยานใหญ่ ฯลฯ / Re: พระสมเด็จ
« กระทู้ล่าสุด โดย pjxteam เมื่อ กุมภาพันธ์ 21, 2015, 03:22:32 AM »
ผงวิเศษ 5 ประการ คือ
ผงอิธะเจ
ผงปถมัง
ผงมหาราช
ผงพุทธคุณ และ
ผงตรีนิสิงเห

ผงทั้งห้านี้ผงวิเศษ 5 ประการ มิได้เกิดจากการนำผง 5 ชนิดมารวมกัน
แต่เกิดจากผงชุดเดียวกันผ่านกรรมวิธี ถึง 5 ครั้ง
 
ขั้นแรก
ทำดินดสอผงวิเศษ ด้วยส่วนผสม คือ
ดินโป่ง 7 โป่ง
ดินท่า 7 ท่า 
ดินเสาหลักเมือง 7 หลักเมือง
ขี้เถ้าไส้เทียนบูชาพระประธานพระอุโบสถ
ดอกกาหลง
ยอดสวาท
ยอดรกซ้อน
ขี้ไคลเสมา
ขี้ไหคลประตูวัง
ขี้ไคลเสาตะลุงช้างเผือก
ราชพฤกษ์
ชัยพฤกษ์
พลูร่วมใจ
พลูสองหาง
กระแจะตะนาว
จ้ำมันเจ็ดรส และ
ดินสอพอง
มาผสมกัน ป่นละเอียด เจือน้ำ ปั้นเป็นแท่งดินสอ
 
กรรมวิธีทำผงวิเศษ 
กระทำในพระอุโบสถ เตรียมเครื่องสักการะ
หน้าพะประธาน กล่าวคาถาอัญเชิยครู ประกาศอัญเชิญเทพยดา
ทำประสะน้ำมนต์พรมตัว เรียกอักขระเข้าตัว และอัญเชิญครุเข้าตัว

ผงปถมัง 
เป็นผงเริ่มต้น  นำดินสอผงวิเศษมาเขียนสูตร และลบออก
เป็นผงปถมังมีอานุภาพ หลายด้าน แต่หนักไปทาง คงกรพันชาตรี
มหาอุด แคล้วคลาด กำบังล่องหนและป้องกันภูตผีปีศาจและคุณไสย

ผงอธิเจ 
นำผงปถมังมาปั้นเป็นดินสอ แล้วเขียนสูตร ลบผงเป็นผงอธิเจ
มีอานุภาพด้านเมตตามหานิยมอย่างสูงรักษาโรคภัยไข้เจ็บ

ผงมหาราช
นำผงอธิเจ มาปั้นเป็นดินสอ แล้วเขียนสูตร ลบผง
เป็นผงมหาราช มีอานุภาพด้านเมตตามหานิยมอย่าสูงป้องกัน
และถอนคุณไสย และแคล้วคลาด

ผงพุทธคุณ
นำผงมหาราช  มาปั้นเป็นดินสอ แล้วเขียนสูตร
ลบผงเกี่ยวกับพุทธคุณนานาประการ ให้อานุภาพด้านเมตตามหานิยม
อย่างสูง กำบัง สะเดาะ และล่องหน

ผงตรีนิสิงเห
นำผงพุทธคุณ  มาปั้นเป็นดินสอ แล้วเขียนสูตร
ลบผงเกี่ยวกับยันตร์ตรีนิสิงเหหรือยันตร์นารายณ์ถอดรูป แล้วมียันต์
พระควัมบดี และยันต์ตราพระสีห์  อานุภาพด้าน เมตตามหานิยม
ป้องกันถอนคุณไสย และภูตผี ป้องกันสัตว์เขี้ยวเล็บงา รักษาโรค
อุบัติภัยอันตรายทั้งปวง
 
67
ไปยานใหญ่ ฯลฯ / Re: พระสมเด็จ
« กระทู้ล่าสุด โดย pjxteam เมื่อ กุมภาพันธ์ 21, 2015, 02:58:26 AM »
ที่ผ่านมา การเช่าการขายพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม
พิมพ์ใหญ่ ที่มีชื่อเสียงอยู่ในระดับแถวหน้าเช่น
'องค์เสี่ยหน่ำ'
'องค์ลุงพุฒ'
'องค์ขุนศรี'
'องค์เล่าปี่'
'องค์กวนอู'
'องค์บุญส่ง'
'องค์เจ๊แจ๊ว'
'องค์เจ๊องุ่น'
'องค์ครูเอื้อ'
'องค์เสี่ยดม' และ
'องค์มนตรี'
68
ไปยานใหญ่ ฯลฯ / Re: พระสมเด็จ
« กระทู้ล่าสุด โดย pjxteam เมื่อ กุมภาพันธ์ 21, 2015, 02:56:37 AM »
กล่าวสำหรับ 'จักรพรรดิแห่งพระเครื่อง' พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม
เป็นพระเครื่องประเภทเนื้อปูนผสมผงที่สร้างขึ้นด้วย
ผงวิเศษทั้ง 5 ประการ คือ
ผงปถมัง
ผงอิทธิเจ
ผงมหาราช
ผงพุทธคุณ
ผงตรีนิสิงเห
นอกจากนั้น ยังผสมด้วยมวลสารต่างๆ อาทิ
ปูนเปลือกหอย
ดินสอพอง
เกสรดอกไม้
กล้วยและข้าวสุกตากแห้ง
โดยมีส่วนของน้ำมันตั้งอิ๊วและน้ำอ้อยเป็นตัวเชื่อมประสานให้เข้าเป็นเนื้อ เดียวกัน

เนื้อของพระมีสีขาวแบบปูนปั้น หรือสีขาวอมเหลือง มองดูเนื้อแก่ผง มีความหนึกนุ่มและแกร่ง
ขนาดองค์พระเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความกว้างประมาณ 2.2 เซนติเมตร
สูงประมาณ 3.5 เซนติเมตร หนาประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ทุกแบบพิมพ์
 
ประกอบด้วยพิมพ์ทรงมาตรฐานที่เล่นหาสะสมในวงการทั้งหมด 4 พิมพ์ทรง คือ
พิมพ์ใหญ่
พิมพ์ทรงเจดีย์
พิมพ์ฐานแซม
พิมพ์เกศบัวตูม
ส่วนพิมพ์ปรกโพธิ์นั้น ยังเป็นที่ถกเถียงกันของนักสะสมพระเครื่อง
ฝ่ายหนึ่งกล่าวว่า พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ไม่มีพิมพ์ปรกโพธิ์
แต่อีกฝ่ายหนึ่งกล่าวว่าในพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม
มีพิมพ์ปรกโพธิ์เช่นเดียวกับในพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) สร้างไว้

พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เป็นผู้สร้างขึ้น กล่าวกันว่า
ท่านเริ่มสร้างขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ.2409 ภายหลังจากโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระสมเด็จพุฒาจารย์
จึงเรียกขานพระเครื่องที่สร้างขึ้นว่า 'พระสมเด็จ'
และได้สร้างเรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2415 โดยได้แจกจ่ายแก่บรรดาญาติโยมที่มาเยี่ยมเยียน
และเมื่อครั้งออกบิณฑบาตในตอนเช้า ครั้นหมดก็สร้างใหม่ ปลุกเสกด้วยคาถาชินบัญชรที่ท่านได้มาจากเมืองกำแพงเพชร
ผู้แกะพิมพ์ถวาย คือ หลวงวิจารณ์เจียรนัย ช่างทองในราชสำนัก


มวลสารพระสมเด็จประกอบด้วยวัตถุหลายอย่าง ท่านใดที่เคยทดลองผสมมวลสาร หลายท่านอาจจะรู้แล้ว เมื่อย้อนยุคกลับไป 140 ปีก่อน คิดว่าอะไรจะหาง่ายที่สุด การผสมจะมีวัตถุดิบ ทั้งของแห้งและของเปียก
1.ของแห้ง ได้แก่
- ผงข้าวสุกตากแห้ง รวมถึง ข้าวสารที่หลุดรอดจากการหุง
- ผงเกสรและว่านต่างๆ
- ผงชานหมาก
- ผงตะไคร่ใบเสมา
- ผงกรุพระเก่า, เศษพระป่นหัก
- ปูนชนิดต่างๆ
- ผงวิเศษชนิดต่างๆ
- ผงเงิน , ผงทอง
- พระบรมสารีริกธาตุ, พระธาตุ
- อัญมณีผง
- กระเบื้องกังใสบด
- ผงธูป, ผงใบลานเผา, ก้านธูป, ดอกไม้แห้ง รวมถึง สิ่งบูชาพระต่างๆนำมาพลีแล้วเผา
- ดินโป่ง 7 โป่ง, ดินท่า 7 ท่า, ดินหลักเมือง 7 หลัก
- ขี้ไคลเสมา, ขี้ไคลประตูวัง, ขี้ไคลเสาตะลุงช้างเผือก
- ชัยพฤกษ์, ราชพฤกษ์
- ดอกกาหลง, ยอดสวาท, ยอดรักซ้อน, พลูร่วมใจ, พลู 2 หาง
- กระแจะตะนาว
- เยื่อกระดาษ
- ผงมวลสารเก่า
2. ของเปียกได้แก่
- ข้าวสุก
- กล้วย
- ว่านสด
- น้ำพระพุทธมนต์
- น้ำบ่อ 7 รส
- น้ำอ้อย, น้ำผึ้ง, น้ำหมาก
- น้ำมันจันทน์
- น้ำมันตังอิ้ว (น้ำมัน Tung)
- กาวกระถิน, กาวมะขวิด, กาวมะขาม, กาวหนังสัตว์
เนื้อของพระสมเด็จ แบ่งออกเป็นประเภท ใหญ่ๆได้ ดังนี้
1. เนื้อเกษรดอกไม้
2. เนื้อกระแจะจันทร์
3. เนื้อปูนนุ่ม
4. เนื้อกระยาสารท หรือ เนื้อขนมตุ้บตั้บ
5. เนื้อผงใบลาน
6. เนื้อปูนแกร่ง
7. เนื้อเทียนชัย
8. เนื้อหินมีดโกน
9. เนื้อชานหมาก
10. เนื้อดินสอพอง หรือ เนื้อชล็อก
11. เนื้อเนื้อปูนดิบหรือเนื้อกระเบื้อง
12. เนื้อดินดิบ
13. เนื้อดินเผา
14. เนื้อขาวงาช้าง
15. เนื้อข้าวสุก
16. เนื้อผสมขี้ผึ้ง
17. เนื้อผสมว่าน
18. เนื้อผสมสีฝุ่น
19. เนื้อแก่น้ำมัน
ท่านใดเห็นควรว่ามีเนื้อนอกเหนือมากกว่านี้ บอกด้วย



ตัวอย่างเนื้อ    พระสมเด็จ

http://www.meeboard.com/view.asp?user=saravutrasameepen&groupid=29&rid=49&qid=1
69
ไปยานใหญ่ ฯลฯ / เบญจภาคี
« กระทู้ล่าสุด โดย pjxteam เมื่อ กุมภาพันธ์ 21, 2015, 02:51:48 AM »
พ.อ.(พิเศษ)ประจน กิตติประวัติ ท่านนี้เองที่ได้จัดทำเนียบชุดพระเครื่อง 'เบญจภาคี' ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2495
โดยเมื่อแรกเริ่มยังคงเป็นเพียง
'ไตรภาคี' คือ มีเพียง 3 องค์เท่านั้น
อันประกอบด้วย 'พระสมเด็จ' วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นองค์ประธาน
ซ้ายขวาเป็น 'พระนางพญา' พิษณุโลก และ 'พระรอด' ลำพูน
ไม่นานจากปีนั้นจึงได้ผนวก
'พระกำแพงซุ้มกอ' กำแพงเพชร และ 'พระผงสุพรรณ' สุพรรณบุรี เข้าเป็นชุด 'เบญจภาคี'
สุดยอดปรารถนาของนักสะสมพระเครื่องทั้งหลาย
แต่เมื่อมองย้อนกลับไปในครั้งนั้น พระเครื่องที่ได้รับความนิยมชมชอบมากเป็นพิเศษแล้ว คือ
พระเครื่องที่มีพุทธคุณในด้าน 'คงกระพันชาตรี'ซึ่งการจัดทำทำเนียบ 'เบญจภาคี' นั้น
เป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดความนิยมพระเครื่องทั้ง 5 องค์ ในชุดดังกล่าว
อันล้วนเป็นพระเครื่องที่มีราคาการเช่าที่สูงๆ ทั้งสิ้นยิ่ง
เมื่อ พ.อ.(พิเศษ) ประจน กิตติประวัติ จัดให้พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม
เป็น 'จักรพรรดิแห่งพระเครื่อง' ความนิยมใน 'พระสมเด็จ' ก็ทะยานสู่แถวหน้าของพระเครื่องเมืองไทย
70
ไปยานใหญ่ ฯลฯ / Re: พระสมเด็จ
« กระทู้ล่าสุด โดย pjxteam เมื่อ กุมภาพันธ์ 21, 2015, 02:43:10 AM »
อายุ

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่
>>>เจ้าประคุณสมเด็จ สร้างอยู่ 3 แผ่นดิน หรือ 3 ยุคสมัยตั้งแต่รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สร้างครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2368 จนถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 สร้างครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. 2414 รวมการสร้างพระพิมพ์ประมาณ 14 ครั้ง และแบ่งออกเป็น 3 ยุค ดังนี้
ยุคต้น สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 –2390 (ครองราชย์ พ.ศ. 2367 - 2394)
ยุคกลาง สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 ตั้งแต่ พ.ศ. 2399 –2411 (ครองราชย์ พ.ศ. 2394 - 2411)
ยุคปลาย สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งแต่ พ.ศ. 2412 –2414 (ครองราชย์ พ.ศ. 2411 - 2453) มีรายละเอียดการสร้างพระพิมพ์ หรือพระสมเด็จ ดังนี้
ยุคต้น ในรัชกาชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3 ) 1. ปี พ.ศ. 2348 สร้างที่ระลึกงานฉลองสมณศักดิ์ เป็น “พระครูโต”
2. ปี พ.ศ. 2378 สร้างเป็นที่ระลึกในการเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระปริยัติธรรม”
3. ปี พ.ศ. 2379 สร้างเป็นที่ระลึกให้แก่ผู้บริจาคเงินสร้างพระพุทธไสยาสน์ (ไม่ลงกรุ)
4. ปี พ.ศ. 2381 สร้างเป็นที่ระลึกให้งานทำบุญครบ 51 ปี ขณะดำรงตำแหน่งสมณศักดิ์ พระปริยัติธรรม
5. ปี พ.ศ. 2386 สร้างเป็นที่ระลึกในงานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระราชปัญญาภรณ์”
6. ปี พ.ศ. 2387 สร้างเป็นที่ระลึกให้แก่ผู้บริจาคเงินบำรุงวัดระฆัง
7. ปี พ.ศ. 2390 สร้างเป็นที่ระลึกในงานทำบุญครบรอบ 60 ปี เป็นที่ “พระเทพกวีศรีวิสุทธินายก” ซึ่งการสร้างแต่ละครั้งมีจำนวนไม่มาก เป็นพิมพ์ใหญ่ และหลายพิมพ์ทรง เป็นพระเนื้อขาวแก่ปูน พิมพ์ใหญ่ไม่มีเส้นกรอบกระจก หรือเส้นบังคับพิมพ์
ยุคกลาง ในสมัยรัชกาลสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)
1. ปี พ.ศ. 2399 สร้างให้โยมพระบิดามารดา เพื่อแทนคุณ ขณะดำรงสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระธรรมกิติโสภณ” เป็นพิมพ์ปรกโพธิ์
2. ปี พ.ศ. 2399 สร้างเป็นที่ระลึกในงานสร้างพระบูชา นามว่า “พระหาพุธพิม”
3. ปี พ.ศ. 2407 สร้างเป็นที่ระลึกในงานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ “สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)พรหมรังษี” เป็นพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่
4. ปี พ.ศ. 2409 สร้างในขณะดำรงสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี” เริ่มสร้างที่จำนวน 84,000 องค์ตามเจตนารมณ์ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา โดยแม่พิมพ์ของช่างทองหลวง “หลวงวิจารณ์เจียรนัย”
5. ปี พ.ศ. 2411 สร้างในขณะดำรงสมณศักดิ์ เป็นที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต เป็นพิมพ์ใหญ่อกวี จำนวน 84000 องค์
ยุคปลาย ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
1. ปี พ.ศ. 2412 สร้างพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรนัย จำนวน 84000 องค์ (แบ่งลงกรุบางขุนพรหม)
2. ปี พ.ศ. 2414 สร้างพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ (ลงรักปิดทอง) (ลงกรุวังหน้า)
สร้างถวายแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 84000 องค์
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10