กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10
71
ไปยานใหญ่ ฯลฯ / พระสมเด็จ
« กระทู้ล่าสุด โดย pjxteam เมื่อ กุมภาพันธ์ 21, 2015, 02:38:05 AM »
http://www.aj-ram.com/view/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%86%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AF%20%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B3%20%20%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%20%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%20%E0%B9%93%E0%B9%90,%E0%B9%90%E0%B9%90%E0%B9%90,%E0%B9%90%E0%B9%90%E0%B9%90%20%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97




http://www.xn--12cmdf6c1aw1baeqc3fq2b4d6fugofyd.com/14943892/%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%86%E0%B8%B1%E0%B8%87

ชีวประวัติสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี .
ท่านเป็นผู้สร้าง "พระสมเด็จ ที่ ถูกจัดให้เป็นราชาแห่งพระเคื่องทั้งปวง "
ได้แก่ ๑.พระสมเด็จวัดระฆัง ๒.พระสมเด็จบางขุนพรหม และ ๓.พระสมเด็จวัดเกศไชโย
นับเป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือทั่วไปมาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชน และนอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว ท่านยังทรงคุณทางด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล "พระสมเด็จ" ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ได้ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี หรือสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทย และมีราคาซื้อขายในปัจจุบันต่อองค์เป็นราคานับล้านบาท ด้วยปฏิปทาจริยาวัตรและคุณวิเศษอัศจรรย์ของท่าน ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นอมตะเถราจารย์รูปหนึ่งของเมืองไทย และมีผู้นับถือจำนวนมากในปัจจุบัน สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 หลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้แล้ว 7 ปี เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จุลศักราช 1150 เวลาพระบิณฑบาต ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ 2331 ณ บ้านไก่จ้น (บ้านท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
มารดาบิดาของท่านเป็นใครไม่ทราบแน่ชัด มีผู้กล่าวประวัติของท่านในส่วนนี้แตกต่างกันไปหลายสำนวน เช่น ฉบับของพระยาทิพโกษา กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อนางงุด บุตรของนายผลกับนางลา ชาวนาเมืองกำแพงเพชร หรือฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อเกตุ คนท่าอิฐ อำเภอบางโพ อย่างไรก็ดีมารดาของท่านนั้นเป็นชาวเมืองเหนือ (คำเรียกในสมัยอยุธยา) เพราะทุกแหล่งอ้างอิงกล่าวตรงกันว่ามารดาของท่านเป็นชาวเมืองเหนือแต่ได้ลงมาทำมาหากินแถบภาคกลางในช่วงหลัง
สำหรับบิดาของท่านนั้น สำนวนของพระยาทิพโกษา กล่าวว่าท่านเป็นโอรสนอกเศวตฉัตรของ "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ครั้งทรงพระยศเป็น เจ้าพระยาจักรี ส่วนฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล และฉบับของตรียัมปวายกล่าวว่าท่านเป็นพระโอรสของ "พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย"   และแม้ในสำนวนของตรียัมปวายจะมีข้อสันนิษฐานเพื่อยืนยันหลายข้อ แต่อย่างไรก็ตาม ประวัติทั้งสองสำนวนกล่าวตรงกันเพียงว่า ข้อสันนิษฐานว่าด้วยบิดาของท่านนั้นเป็นเพียงเรื่องเล่าซึ่งชาวบ้านในสมัยนั้นกล่าวและเชื่อกันโดยทั่วไป

บรรพชาและอุปสมบท
เมื่อถึงวัยพอสมควรแล้ว ได้บรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนาเมื่อ พ.ศ. 2343 ต่อมาปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดและเมตตาสามเณรโตเป็นอย่างยิ่ง ครั้นอายุครบอุปสมบทปี พ.ศ. 2350 จีงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปสมบทเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มี สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช สุก ญาณสังวร เป็น พระอุปัชฌาย์ มีฉายานามในพุทธศาสนาว่า "พฺรหฺมรํสี ต่อมา พระบาทสมเด้จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระภิกษุโตรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์


จริยาวัตร
ครั้นถึงรัชกาลที่ 3 
จะทรงสถาปนาสมณศักดิ์เพื่อยกย่องในกิตติคุณและเกียรติคุณของพระภิกษุโต แต่พระภิกษุโตไม่ยอมรับ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าท่านมีอุปนิสัยไม่ปรารถนายศศักดิ์หรือลาภสักการะใดๆ ทั้งสิ้น อนึ่ง แม้พระภิกษุโตได้ศึกษาพระธรรมวินัยแตกฉาน แต่ด้วยอุปนิสัยดังกล่าวข้างต้น ท่านจึงไม่ยอมเข้าแปลหนังสือเพื่อเป็นพระภิกษุชั้นเปรียญเช่นกัน
ต่อมากล่าวกันว่า พระภิกษุโตได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ และได้สร้างปูชนียสถานในที่ต่างๆ กัน เช่น สร้างพระพุทธไสยาศน์ไว้ที่วัดสตือ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างพระพุทธรูปหลวงพ่อโต วัดไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นต้น ซึ่งปูชนียสถานทุกแห่งที่ท่านสร้างจะมีขนาดใหญ่โตสมกับชื่อของพระภิกษุโตอยู่เสมอ การจะสร้างปูชนียสถานขนาดใหญ่เช่นนี้ล้วนแต่ต้องใช้ทุนทรัพย์และแรงงานจำนวนมากในการก่อสร้างจึงจะทำได้สำเร็จ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความศรัทธาและบารมีของพระภิกษุโต ซึ่งเป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนในย่านที่ท่านได้ธุดงค์ผ่านไปอย่างชัดเจน
 
       สมณศักดิ์
สมเด็จพระพุฒาจารย์ เอนกปรีชา วิสุทธศีลจรรยาสมบัติ นิพัทธุตคุณ สิริสุนทร พรตจาริก อรัญญิกคนฤศร สมณนิกรมหาปริณายก ตรีปิฎกโกศล วิมลศีลขันธ์ ณ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร พระอารามหลวงฯ


ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 พระองค์โปรดปรานพระภิกษุโตเป็นอย่างยิ่ง ในปี พ.ศ. 2395 พระองค์จึงได้พระราชทานสมณศักดิ์ถวายพระภิกษุโตเป็นครั้งแรก โดยมีสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ราชทินนาม "พระธรรมกิติ" และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ขณะนั้นท่านอายุ 65 ปี โดยปกติแล้วพระภิกษุโตมักพยายามหลีกเลี่ยงการรับพระราชทานสมณศักดิ์ แต่ด้วยเหตุผลบางประการ ทำให้ท่านต้องยอมรับพระราชทานสมณศักดิ์ในที่สุด อีก 2 ปีต่อมา (พ.ศ. 2397) ท่านจึงได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ ในราชทินนาม "พระเทพกวี" หลังจากนั้นอีก 10 ปี พ.ศ. 2407 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ ในราชทินนาม "สมเด็จพระพุฒาจารย์" มีนามจารึกตามสุพรรณบัฏว่า
สมณศักดิ์ดังกล่าวนี้นับเป็นสมณศักดิ์ชั้นสูงสุดและเป็นชั้นสุดท้ายที่ท่านได้รับตราบจนกระทั่งถึงวันมรณภาพ คนทั่วไปนิยมเรียกท่านว่า "สมเด็จโต" หรือ "สมเด็จวัดระฆัง" ส่วนคนในยุคร่วมสมัยกับท่านเรียกท่านว่า "ขรัวโต
 
  ปัจฉิมวัย
ราวปี พ.ศ. 2410 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้มาเป็นประธานก่อสร้างปูชนียวัตถุครั้งสุดท้ายที่สำคัญของท่าน คือ พระพุทธรูปหลวงพ่อโต (พระศรีอริยเมตไตรย)  ที่วัดอิทรวิหาร (ในสมัยนั้นเรียกว่า วัดบางขุนพรหมใน) ทว่าการก่อสร้างก็ยังไม่ทันสำเร็จ โดยขณะนั้นก่อองค์พระได้ถึงเพียงระดับพระนาภี (สะดือ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ได้มรณภาพบนศาลาเก่าวัดบางขุนพรหมใน ณ วันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ 2415 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิริรวมอายุได้ 84 ปี อยู่ในสมณเพศ 64 พรรษา เป็นเจ้าอาวาสครองวัดระฆังโฆสิตารามได้ 20 ปี
หลังมรณภาพ
ตัวอย่างคำเทศนาของเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่ได้โปรดชี้ธรรมไว้ในนิมิต
หลังจากที่ล่วงลับไปแล้วเมื่อ100 กว่าปี ความว่า
                             
               "ลูกเอ๋ย ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีจากหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง
          คือ บารมีของตน ลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอ จึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย
              มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่เที่ยวไปขอยืมมาจนพ้นตัว
            เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีมา ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาหมด ไม่มีอะไรเหลือติดตัว
                                                       แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า
 
                                               หมั่นสร้างบารมีไว้ แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง
                             จงจำไว้นะ...เมื่อยังไม่ถึงเวลา  เทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้
                             ครั้นถึงเวลาทั้งฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่ จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน
                                       เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า"
72
ไปยานใหญ่ ฯลฯ / ตัวอย่างเนื้อพระสมเด็จ
« กระทู้ล่าสุด โดย pjxteam เมื่อ กุมภาพันธ์ 21, 2015, 02:17:27 AM »
73
ดิจิตอล คอนโซล สำหรับงานบรอดคาส ( Digital Mixer Console Broadcast )
74
ตัวไฮบริจมีปัญหาครับ ไปสีฟ้าขึ้นค้างตลอดโทเข้าไม่ได้ ส่งซ่อมนี่ประมาณเท่าไหร่ครับ

แจ้งไปทางไลน์แล้วนะครับ  จัดส่งมาครับ  ทางทีมงานจะดูแลให้ครับ   ขอบคุณครับ
75
รบกวนขอรหัสด้วยครับ  ขอบคุณครับ :) :) :) :) :)
76
ตัวไฮบริจมีปัญหาครับ ไปสีฟ้าขึ้นค้างตลอดโทเข้าไม่ได้ ส่งซ่อมนี่ประมาณเท่าไหร่ครับ
77
แจ่มเลยคับ
78
ขอ password file เรืยงช่อง supernet 2010 ครับ
79
ไปยานใหญ่ ฯลฯ / การทำความสะอาดพระเครื่อง
« กระทู้ล่าสุด โดย pjxteam เมื่อ มกราคม 13, 2015, 01:11:57 PM »
การทำความสะอาดพระสำหรับมือใหม่ บางครั้งถ้าไม่รู้วิธี่ที่ถูกต้อง อาจจะทำให้พระที่มีสูง ราคาลดได้  หรือด้อยราคาลงไป 
ได้ไปอ่านบทความที่คุณสมุจจัย เขียนไวั้ในวารสารธุรกิจพระ  ฉบับที่ ๖๓ เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ เห็นว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนสมาชิกชาวเวปพระ จึงขออนุญาตนำมาถ่ายทอด ณ ที่นี้  ข้อควรจำสำหรับเซียนพระทุกคน คือ

พระเครื่องไม่ใช่ฟัน  อย่าเอาแปรงสีฟันไปแปรง พระเครื่องไม่ใช่ภาชนะหุงต้ม จึงไม่ควรเอาผงขัดหม้อ หรืสก๊อตไบท์ไปขัด  ปรมาจารย์ยุคแรกได้ค้นคว้าวิธีทำความสะอาดพระ

หลังจากที่ได้ลองผิดลองถูก จนได้วิธีในการทำความสะอาดพระ ดังต่อไปนี้

วิธีที่ ๑ สรงน้ำ  สมมุติว่าได้พระสมเด็จมา ๑ องค์ ขั้นตอนแรกให้ใช้แอลกอฮอล์ชโลมเพื่่อฆ่าเชื้อโรคก่อน แล้วจึงสรงด้วยน้ำอุ่น โดยใช้สำลีชุบน้ำอุ่น ลูบไล้ตามซอกต่าง ๆ

ให้ทั่ว แล้วนำไปผึ่งลม (ห้ามนำพระลงแ่ช่น้ำอุ่นทั้งองค์โดยเด็ดขาด)  เมือแห้งสนิทแล้ว สีพระอาจจะเปลี่ยนไปบ้าง ไม่ต้องตกใจ เพราะที่เป็นอย่างนี้เพราะเหงื่อไคล หรือ ขี้มือ

ฝุ่นละออง หลุดออกไป  การแก้ไขความซีดของพระไม่ยาก ให้ใช้สำลีชุบน้ำหอมสีอ่่อน ๆ  ทาให้ทั่วองค์ เนื้อพระจะกลับมาเหมือนเดิม

วิธีที่ ๒  การกำจัดฝ่นละออง   ให้ใช้คัดตอนบัด ลูบเบา ๆ มั่นปัดในซอกลึก ๆ ฝุ่นละอองจะหมดไป วิธี่นี้ิเหมาะสำหรับพระที่จะเก็บเข้ากล่องนาน ๆ

วิธีที่ ๓ การกำจัดเชื้อรา  พระเครื่องที่เก็บไว้นาน ๆ ในฤดูฝนอากาศชื้นมากกว่าปกติ อาจมีเชื้อราจับเป็นฝ้าบาง ๆ ตามซอกต่าง ๆ ถ้ามีให้ใช้ขนมปังปอนด์ เอาเฉพาะส่วนที่นุ่ม ๆ

ตรงกลาง ตบเบา ๆ บนเนื้อพระ ราและผงฝุ่นจะหลุดออกมาหมดพร้อมขนมปัง แต่ถ้าต้องการความสะอาดหมดจด ให้เอาพระซุกไว้บริเวณกลางเนื้อขนมปัง แล้วใช้ผ้าชุบน้ำหมาด

ๆ ห่อขนมปังไว้อีกที ระวังอย่างให้ผ้าแห้ง ขนมปังจะแข็ง ทิ้งไว้ ๑ - ๒ คืน เมื่อเอาพระออกมา ใช้แปรงอ่อน ๆ หรือคัดตอนบัด ปัดเศษขนมปังออกให้หมด จากนั้นผึ่งลมใหแห้งสนิทง

เนื้อพระจะเกลี้ยงเกลา ดูผิวหนึกหนุ่มนวลตาขึ้นเป็นอันมาก วิธีนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับพระสมเด็จ ชนิดมีแป้งโรยพิมพ์

วิธีที่ ๔ กำจัดความชื้น มีวิธีดังนี้ ๑. ใช้ข้าวสารกลบไว้ในภาชนะขนาดย่อมสัก ๒ - ๓ คืน เมื่อเอาออกมาใช้แปรงขนอ่อน ปัดข้าวสารออก เนื้อพระจะแห้งปราศจากน้ำมัน ผิวพระ

จะนวล นุ่มตากว่าเก่า เหมาะสำหรับทำความสะอาดพระเนื้อนุ่ม ๒. สรงด้วยน้ำซาวข้าวที่มีตะกอนข้น ๆ แช่พระไว้ ๑-๒ ชั่วโมง แล้วนำมาล้างออกด้วยน้ำสะอาด ผึงลมให้่แห้ง

งสนิท เหมาะสำหรับพระเนื้อแกร่ง

วิธีที่ ๕  ล้างสนิม ในกรณีมีสนิมเหล็กจับที่เนื้อพระให้ใช้เปลือกหมากเจียนเป้นชิ้นเล็ก ๆ จุ่มน้ำยาล้างสนิม ถูค่อย ๆ หลาย ๆ ครั้ง  สนิมจะค่อย ๆ หลุดออก ข้อควรระวัง

คืออย่าถูแรง ๆ จะทำให้ผิวพระเสียได้

วิธีที่ ๖ ล้างสี  ในกรณีที่เนื้อพระเปื้อนสี ถ้าเป็นสีน้ำมัน ให้ล้างออกด้วยทินเนอร์ ถ้าเป้นสีชนิดอื่น ให้ใช้นำยาคลอรีน หรือน้ำยาซัลเฟอร์ได้ออกไซด์ล้างสีออก

แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง ผึ้งให้แห้ง

วิธีที่ ๗ การแช่ด้วยผงชูรส  ใช้กับพระเนื้อโลหะ เหรียญ หรือรูปหล่อ  แช่ไว้ราวครึ่งชั่วโมง หรือนานกว่านั้นตามปริมาณคราบสกปรก เช็ดออกด้วยสำลี หรือล้างน้ำสะอาด การ

ทำความสะอาดด้วยวิธีนี้ อาจทำให้พระเปลี่ยนสีได้ ถ้าทิ้งไว้นาน ๆ ผิวจะกลับดั่งเดิม หรือถ้าใจร้อนอาจใช้ขีผึ้งเบอร์ ๒๘ ทาบาง ๆ ก็ได้  เป็นวิธีที่ไม่ควรทำ แต่ถ้าให้ดี ควรรักษา

ผิวเดิมของพระไว้ดีกว่า ถ้าอยากทำความสะอาดจริง ๆ สามารถล้างด้วยแชมภูอ่อน ๆ ผสมน้ำอุ่นก็พอแล้ว

วิธีที่ ๘  ไม่ควรขัดพระด้วยน้ำยาขัดโลหะ  น้ำยาสำหรับขัดโลหะ สามารถขัดพระประเภทเนื้อสำริดหรือทองผสม ทำให้สะอาดหมดจดจริง ๆ แต่โลหะจะสึกมากกว่า การแช่ื

ด้วยด้วยผงชูรส

         การขัดพระ ล้างพระ ควรทำด้วยความระมัด ระวัง  การใช้กรดอย่างอ่อน เช่น มะนาว มะขาม ในพระเนื้อผง จะทำให้พระดูซีดขาวขึ้น ทำให้ขาดเสน่ห์
80
ขอ pass ด้วยครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10