กล่าวสำหรับ 'จักรพรรดิแห่งพระเครื่อง' พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม
เป็นพระเครื่องประเภทเนื้อปูนผสมผงที่สร้างขึ้นด้วย
ผงวิเศษทั้ง 5 ประการ คือ
ผงปถมัง
ผงอิทธิเจ
ผงมหาราช
ผงพุทธคุณ
ผงตรีนิสิงเห
นอกจากนั้น ยังผสมด้วยมวลสารต่างๆ อาทิ
ปูนเปลือกหอย
ดินสอพอง
เกสรดอกไม้
กล้วยและข้าวสุกตากแห้ง
โดยมีส่วนของน้ำมันตั้งอิ๊วและน้ำอ้อยเป็นตัวเชื่อมประสานให้เข้าเป็นเนื้อ เดียวกัน
เนื้อของพระมีสีขาวแบบปูนปั้น หรือสีขาวอมเหลือง มองดูเนื้อแก่ผง มีความหนึกนุ่มและแกร่ง
ขนาดองค์พระเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความกว้างประมาณ 2.2 เซนติเมตร
สูงประมาณ 3.5 เซนติเมตร หนาประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ทุกแบบพิมพ์
ประกอบด้วยพิมพ์ทรงมาตรฐานที่เล่นหาสะสมในวงการทั้งหมด 4 พิมพ์ทรง คือ
พิมพ์ใหญ่
พิมพ์ทรงเจดีย์
พิมพ์ฐานแซม
พิมพ์เกศบัวตูม
ส่วนพิมพ์ปรกโพธิ์นั้น ยังเป็นที่ถกเถียงกันของนักสะสมพระเครื่อง
ฝ่ายหนึ่งกล่าวว่า พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ไม่มีพิมพ์ปรกโพธิ์
แต่อีกฝ่ายหนึ่งกล่าวว่าในพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม
มีพิมพ์ปรกโพธิ์เช่นเดียวกับในพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) สร้างไว้
พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เป็นผู้สร้างขึ้น กล่าวกันว่า
ท่านเริ่มสร้างขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ.2409 ภายหลังจากโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระสมเด็จพุฒาจารย์
จึงเรียกขานพระเครื่องที่สร้างขึ้นว่า 'พระสมเด็จ'
และได้สร้างเรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2415 โดยได้แจกจ่ายแก่บรรดาญาติโยมที่มาเยี่ยมเยียน
และเมื่อครั้งออกบิณฑบาตในตอนเช้า ครั้นหมดก็สร้างใหม่ ปลุกเสกด้วยคาถาชินบัญชรที่ท่านได้มาจากเมืองกำแพงเพชร
ผู้แกะพิมพ์ถวาย คือ หลวงวิจารณ์เจียรนัย ช่างทองในราชสำนัก
มวลสารพระสมเด็จประกอบด้วยวัตถุหลายอย่าง ท่านใดที่เคยทดลองผสมมวลสาร หลายท่านอาจจะรู้แล้ว เมื่อย้อนยุคกลับไป 140 ปีก่อน คิดว่าอะไรจะหาง่ายที่สุด การผสมจะมีวัตถุดิบ ทั้งของแห้งและของเปียก
1.ของแห้ง ได้แก่
- ผงข้าวสุกตากแห้ง รวมถึง ข้าวสารที่หลุดรอดจากการหุง
- ผงเกสรและว่านต่างๆ
- ผงชานหมาก
- ผงตะไคร่ใบเสมา
- ผงกรุพระเก่า, เศษพระป่นหัก
- ปูนชนิดต่างๆ
- ผงวิเศษชนิดต่างๆ
- ผงเงิน , ผงทอง
- พระบรมสารีริกธาตุ, พระธาตุ
- อัญมณีผง
- กระเบื้องกังใสบด
- ผงธูป, ผงใบลานเผา, ก้านธูป, ดอกไม้แห้ง รวมถึง สิ่งบูชาพระต่างๆนำมาพลีแล้วเผา
- ดินโป่ง 7 โป่ง, ดินท่า 7 ท่า, ดินหลักเมือง 7 หลัก
- ขี้ไคลเสมา, ขี้ไคลประตูวัง, ขี้ไคลเสาตะลุงช้างเผือก
- ชัยพฤกษ์, ราชพฤกษ์
- ดอกกาหลง, ยอดสวาท, ยอดรักซ้อน, พลูร่วมใจ, พลู 2 หาง
- กระแจะตะนาว
- เยื่อกระดาษ
- ผงมวลสารเก่า
2. ของเปียกได้แก่
- ข้าวสุก
- กล้วย
- ว่านสด
- น้ำพระพุทธมนต์
- น้ำบ่อ 7 รส
- น้ำอ้อย, น้ำผึ้ง, น้ำหมาก
- น้ำมันจันทน์
- น้ำมันตังอิ้ว (น้ำมัน Tung)
- กาวกระถิน, กาวมะขวิด, กาวมะขาม, กาวหนังสัตว์
เนื้อของพระสมเด็จ แบ่งออกเป็นประเภท ใหญ่ๆได้ ดังนี้
1. เนื้อเกษรดอกไม้
2. เนื้อกระแจะจันทร์
3. เนื้อปูนนุ่ม
4. เนื้อกระยาสารท หรือ เนื้อขนมตุ้บตั้บ
5. เนื้อผงใบลาน
6. เนื้อปูนแกร่ง
7. เนื้อเทียนชัย
8. เนื้อหินมีดโกน
9. เนื้อชานหมาก
10. เนื้อดินสอพอง หรือ เนื้อชล็อก
11. เนื้อเนื้อปูนดิบหรือเนื้อกระเบื้อง
12. เนื้อดินดิบ
13. เนื้อดินเผา
14. เนื้อขาวงาช้าง
15. เนื้อข้าวสุก
16. เนื้อผสมขี้ผึ้ง
17. เนื้อผสมว่าน
18. เนื้อผสมสีฝุ่น
19. เนื้อแก่น้ำมัน
ท่านใดเห็นควรว่ามีเนื้อนอกเหนือมากกว่านี้ บอกด้วย
ตัวอย่างเนื้อ พระสมเด็จ
http://www.meeboard.com/view.asp?user=saravutrasameepen&groupid=29&rid=49&qid=1